#TU #ทันหุ้น – TU ปิดดีลซื้อหุ้นคืน จำนวน 400 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 8.98% มูลค่า 4,309.15 ล้านบาท ตอกย้ำความเชื่อมั่นนักลงทุน ด้านโบรกส่องผลงานไตรมาส 2/2568 ฟื้นตัว QoQ จากการผ่านพ้นช่วงโลว์ซีซันของธุรกิจ และเริ่มเห็นการเร่งซื้อสินค้าของลูกค้า แนะนำ Wait and See รอความชัดเจนด้านอัตราภาษี คงราคาเหมาะสม 10.80 บาท
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทได้มีมติที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 8/2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567อนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริทารทางการเงิน โดยกำหนดระยะเวลาซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2568-30 มิถุนายน 2568และมีมติที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 แก้ไขรายละเอียดโครงการ โดยแก้ไขวงเงินซื้อคืนคิดเป็น 9.99% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามรายละเอียดในแบบรายงานการเปิดเผยการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริพารทางการเงิน (แบบ TS-1.2) ลงวันที่ 3 เมษายน 2568ซึ่งได้เปิดเผยไปก่อนหน้านี้นั้น
*ซื้อหุ้นคืน 400 ล้านหุ้น
บริษัทขอเรียนให้ทราบว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568ซึ่งเป็นวันครบกำหนดระยะเวลาซื้อหุ้นคืน จำนวนวนหุ้นที่ชื่อคืนในโครงการนี้ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 400,038,900 หุ้น หรือคิดเป็น 8.98% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,309,154,060 บาท
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน บริษัทจะสามารถจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนนี้ได้ภายหลังพ้นกำหนด 3 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ชื่อหุ้นคืนเสร็จสิ้น และไมกรณีที่บริษัทไม่สามารถจำหน่ายน่ายหุ้นที่ซื้อคืนได้ทั้งหมด หรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนไม่หมดภายในระยะเวลาที่กำหนด บริษัทจะดำเนินการลดทุนที่ชำระแล้วโดยวิธีตัดหุ้นที่ซื้อพื้นและยังใย่งไม่จำหน่ายทั้งหมดสำหรับระยะเวลาในการจำหน่ายหน้นที่ซื้อคืนในครั้งนี้ บริษัทจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและแจ้งให้ทราบต่อไป
*คาดผลงาน Q2 ฟื้นตัว
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง TU ว่า แนวโน้มกำไรปกติไตรมาส 2/2568 เบื้องต้นเราคาดเติบโต QoQ จากการผ่านพ้นช่วง Low Season ของธุรกิจ และเริ่มเห็นการเร่งซื้อสินค้าของลูกค้าบางส่วนก่อนที่อัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐ จะเริ่มบังคับใช้ในอัตราเต็มที่ อย่างไรก็ตาม คาดกำไรจะยังลดลง YoY จากฐานรายได้ และอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงในปีก่อน เพราะราคาต้นทุนปลาทูน่าเฉลี่ยสูงขึ้น รวมถึงจะมีค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาที่สูงขึ้น และเริ่มรับรู้อัตราภาษีจ่ายที่สูงขึ้นตามกฎ GMT เป็นไตรมาสแรก
ขณะที่ปัจจัยหลักที่ต้องติดตามหลังจากนี้คือการเจรจาภาษีของรัฐบาล โดยบริษัทมีการปรับเป้าหมายการเติบโตปี 2025 ลง สำหรับในกรณีที่ไทยโดนอัตราภาษี 10% ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ที่ 1-3% (เดิม 3 -4%) และ GPM เป็น 18.0-9.0% (เดิม 18.5-19.5%) และ SG&A/ Sales เพิ่มเป็น 13.5-14.0% (เดิม 13.0-13.5%) ยังสอดคล้องกับประมาณการ ขณะที่หากโดนอัตราภาษีที่สูงกว่า 10% บริษัทมีแผนในการย้ายกำลังการผลิตสำหรับส่งออกไปตลาดสหรัฐ จากไทยไป Ghana และ Seychelles แทน ช่วยชดเชยผลกระทบบางส่วน แต่ยังมองว่าประมาณการยังมี Downside Risk หากเกิดกรณีดังกล่าว
*จับตานโยบายภาษี-เป้า 10.80 บ.
แม้ราคาหุ้นปรับลงมามาก -18.8% YTD สะท้อนปัจจัยลบด้านผลประกอบการที่อาจชะลอลง YoY ในปี 2568 จากผลกระทบของภาษีนำเข้าไปมากแล้ว ทำให้ Downside Risk เริ่มจำกัดมากขึ้น แต่มองว่ายังไม่จำเป็นต้องรีบเข้าลงทุน จากความเสี่ยงด้านอัตราภาษีนำเข้าที่ยังไม่แน่นอน คงคำแนะนำ TRADING คงราคาเหมาะสมที่ 10.80 บาท เชิงกลยุทธ์แนะนำรอเข้าลงทุนเมื่อมีความชัดเจนด้านอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐจากไทย
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม