> SET > KTC

13 มิถุนายน 2024 เวลา 08:30 น.

KTCแกร่งคุมNPLตามเป้า โบรกชี้กำไรสุทธิเพิ่ม4.9%


#KTC#ทันหุ้น – โบรก คาด KTC คุม NPL ได้ตามเป้า 2% ด้วย แม้คุมคุณภาพสินเชื่อได้อ่อนแอจากครัวเรือนสูง-เศรษฐกิจชะลอตัว  ด้วยการตัดจำหน่ายหนี้เสีย  พร้อมประเมินกำไรสุทธิปี 2567-2569 โตเฉลี่ย 4.9%  โดยแนะนำถือ ให้ราคาเหมาะสมที่ 44 บาทต่อหุ้น


บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)พาย จำกัด (มหาชน) ระบุ ฝ่ายวิจัยแนะนำถือ หุ้น บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ 44 บาท อิงจาก Gordon growth model (ROE 19%, Long termgrowth 3%) อิง P/BV 2.9 เท่า และ ค่า P/E 15 เท่า ในปี 2567  ภายหลังการแพร่ระบาดโควิด- 19 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า และเป็นรูปแบบ K-Shaped recovery นอกจากนี้ยังเผชิญกับปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้คุณภาพสินเชื่อบุคคลของไทยอ่อนแอลง แม้ฝ่ายวิจัยมองว่า KTC สามารถดูแลคุณภาพสินเชื่อได้ดี แต่ต้องแลกมาด้วยการเติบโตที่ชะลอลง


ขณะที่ธุรกิจใหม่อย่างพี่เบิ้ม รถแลกเงิน ยังไม่สามารถเป็นเครื่องจักรใหม่สร้างการเติบโตให้กับ KTC ได้อย่างชัดเจน เราคาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตปานกลางเฉลี่ย 4.9% ในปี 2567-2569  จากดอกเบี้ยสุทธิขยายตัวล้อกับการขยายสินเชื่อ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น  แต่หากเทียบกับ Microfinance อย่าง บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR ภายใต้การดูแลที่คาดจะมีเติบโตสูงกว่าราวเฉลี่ย 17-18%  ด้านผลตอบแทนเงินปันผลของ KTC ปานกลางที่ราว 3% ต่ำกว่า  บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO และ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP ที่ 6.1-7.7% ในปี 2567


เศรษฐกิจไทยโตชะลอตัว สวนทางหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดเศรษฐกิจไทยจะเติบโตจาก 1.9% ในปี 2566 เป็น 2.6% ในปี 2567 ใกล้เคียงกับ Bloomberg Consensus หนุนจากภาคการท่องเที่ยง และการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอตัวลง แต่พบว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิด -19 ต่ำกว่าที่เคยเติบโต 3-4% ในปี 2558-2561 และเป็นการฟื้นตัวแบบ K-Shaped recovery ทำให้ภาคครัวเรือนฟื้นตัวจำกัด และคุณภาพสินเชื่อยังเปราะบาง ส่วนหนึ่งเพราะหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น และทรงตัวสูง 91.3% ของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ส่งผลต่อสถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อ และคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง


เข้าสู่ยุคเติบโตชะลอตัว


ในปี 2557-2561 เป็นยุคทองของ KTC สินเชื่อ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9% , กำไรสุทธิ เพิ่มขึ้น 32% หนี้เสียลดลง10% และราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 59% แม้แต่ในยุคโควิด-19 (2562-2565) ทั้งกำไรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8% และราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 18% แต่หนี้เสียปรับเพิ่มขึ้น 20% แต่หลังจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบสถานการณ์ของ KTC กลับไม่ฟื้นตัวมากนัก เราคาดว่าสินเชื่อเติบโตเฉลี่ย 6% (2566-2569) กำไรโต 4%, หนี้เสียเพิ่ม 12% ขณะที่ปีนี้ราคาหุ้นปรับลดลงราว 25% เทียบกับสิ้นปี 2565


สำหรับการเติบโตที่ชะลอตัว และราคาหุ้นลดลง มาจากหลายปัจจัย ดังนี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า, มาตรการเข้มงวดของภาครัฐ, ตลาดสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลอิ่มตัว , การแข่งขันรุนแรง และ กำลังซื้อของลูกหนี้และคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง ส่วนอัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นขาลง โดยคาดจะปรับลดลงที่ 20% 19% 18.1% ในปี 2567-2569 ซึ่งปี 2566 อยู่ที่ 21.6%


งบดุลยังแข็งแกร่ง


แม้หนี้เสียที่สูงขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการซื้อหุ้นสัดส่วน 75.05% ในบริษัท เคทีบี ลีสซิ่ง จากธนาคารกรุงไทย (KTB) ในปี 2564 แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนี้เสียของธุรกิจหลัก (บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล) ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน


ภายใต้เศรษฐกิจโตชะลอตัวและความเสี่ยงคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอ เราคาดว่า KTC จะสามารถควบคุม NPL ratio ได้ตามเป้าหมายไม่เกิน 2% ด้วยวิธีการตัดจำหน่ายหนี้เสีย แต่สิ่งที่จะกระทบคือ Coverage ratio มีแนวโน้มลดลง แต่จะยังสูงกว่า 300% ในปี 2567 แต่ภาระสำรองหนี้ ที่สูงจะกดดันความสามารถการทำกำไรลดลง


รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวล่าสุด

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X