23 มิถุนายน 2025 เวลา 05:00 น.
โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องเริ่มต้นจัดตั้งและลงทุนทำระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้พร้อมเปิดดำเนินงานภายใน 1 ปีนับจากนี้ (ภายใน 19 มิ.ย. 2026) โดยช่วง 3-5 ปีแรกการดำเนินงานของ Virtual Bank แห่งใหม่จะถูกกำกับโดย ธปท. อย่างใกล้ชิด (Phasing) ก่อนที่จะสามารถให้บริการกับลูกค้าเป็นการทั่วไปได้ (Full Functioning) เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบกับผู้ใช้บริการ และไม่สร้างการแข่งขันที่รุนแรงจนส่งผลต่อเสถียรภาพการเงินของไทย
เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นดังกล่าว เนื่องจากรายชื่อตรงกันกับรายชื่อที่กระทรวงการคลังเปิดเผยมาก่อนหน้า โดยเราประเมินผลกระทบดังนี้
1. เราคาดผลดำเนินงานในช่วง 3-5 ปีแรกของ Virtual Bank จะสร้างผลขาดทุนเล็กน้อยให้กับผู้ลงทุน รวมถึงการมีค่าใช้จ่ายสำหรับลงทุนเพิ่มเข้ามาปีละ 2,000-3,000 ล้านบาทต่อ 1 Virtual Bank ขณะที่กลยุทธ์ในช่วงแรกต้องเน้นที่การหาฐานเงินฝากเข้ามาสู่ Virtual Bank ก่อน แต่ยังไม่มีรายได้เข้ามา ทำให้ Cost to Income สูง ก่อนที่จะทยอยลดลงเมื่อมีฐานลูกค้าใหญ่ขึ้น
2. การดำเนินงานในช่วง Phasing ที่ถูก ธปท. ควบคุม คาดจะเป็นการให้บริการสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน และมีขนาดสินเชื่อต่อรายจำนวนไม่สูง เน้นลูกค้ารายย่อยและ SME รายเล็กที่เข้าถึงบริการทางการเงินดั้งเดิมได้ยาก ซึ่ง Virtual Bank อาจนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าผู้ประกอบการเดิมเล็กน้อย เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ให้บริการ Non-Bank จะค่อยๆ ถูก Virtual Bank แย่งไป และ
3. Virtual Bank ถูกจำกัดให้ไม่มีสาขาและตู้ ATM/CDM ของตัวเอง ทำให้ต้องพึ่งพา Banking Agent และ ATM Pool ในช่วงแรก แต่ในระยะยาว ธปท. ต้องการให้ทุกอย่างอยู่บนระบบดิจิทัลทั้งหมด รวมถึงเกณฑ์พิจารณาสินเชื่อที่ต้องนำ Alternative Data เข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้ลูกหนี้ในกลุ่ม Unbanked สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น ดังนั้นการลงทุนในระบบเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานจึงสำคัญมากสำหรับ Virtual Bank เป็นประโยชน์กับกลุ่มผู้ประกอบการที่ชำนาญในระบบ Digital Transformation ในไทย ได้แก่ BBIK และ BE8
เราคงคำแนะนำ “เท่ากับตลาด” สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ภาพใหญ่ยังมีแรงกดดันจากแนวโน้มหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น และการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายที่จะกระทบกับรายได้ดอกเบี้ยรับ ขณะที่ประเด็น Virtual Bank คาดยังไม่เห็นผลกระทบในช่วง 3 ปีนี้ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ โดยทั้ง 3 กลุ่มที่ได้รับใบอนุญาตถือว่าเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจ Virtual Bank ให้สำเร็จได้
แต่สำหรับผลบวกต่อกำไรอาจต้องรอให้ผ่านช่วง Phasing ไปก่อนถึงจะชัดเจน สำหรับช่วงเริ่มต้นนักลงทุนที่สนใจอาจพิจารณาเก็งกำไรในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจ Virtual Bank ที่จะทยอยเพิ่มขึ้นอย่าง BBIK([email protected]) ส่วนหุ้น Top Pick กลุ่มธนาคารเราเลือก TTB([email protected]) แม้คาดกำไรสุทธิทรงตัว YoY แต่คาดให้ Div. Yield 7.1% และยังอยู่ภายใต้มาตรการซื้อหุ้นคืนต่อเนื่อง 3 ปี ปีละ 7,000 ล้านบาท (ของปี 2024 เหลือวงเงินซื้อหุ้นคืนอีก 3,124 ล้านบาท ที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 ส.ค. นี้)
สุดท้ายนี้ ขอให้นักลงทุนประสบความสำเร็จในการลงทุนทุกด้าน พบกันใหม่ในบทความฉบับหน้าครับ
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้
FACEBOOK :
ท้นหุ้น คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
ทันหุ้นออนไลน์ คลิก https://www.facebook.com/thunhoonnews
YOUTUBE : Thunhoon คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial
Tiktok : Thunhoon คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม