#KTC #ทันหุ้น – ภายหลังจาก KTC รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/67 มีกำไรสุทธิ 1,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน โบรกเกอร์ออกบทวิเคราะห์ในวันที่ 21 ต.ค. มี 7 ราย โดย 3 รายแนะนำ “ถือ” 2 รายแนะนำ “ซื้อ” และ 2 รายแนะนำ “ขาย” บางรายปรับราคาเหมาะสมในปี 2568 เพิ่มขึ้น บางรายยังคงราคาเหมาะสมตามเดิม
.
บล.กรุงศรี : ผลประกอบการไตรมาส 3/67 เป็นไปตามคาด
บล.กรุงศรีมีมุมมอง Neutral ต่อกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 ที่ 1,919 ลบ. เพิ่มขึ้น +3% y-y และ +5% q-q เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้รวม ทั้งการเพิ่มขึ้นของ NIM รายได้ค่าธรรมเนียม-บริการ และหนี้สูญรับคืน รวมถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ด้านคุณภาพสินทรัพย์บริหารจัดการได้ดี NPL Ratio อยู่ที่ 1.93% ใกล้กับไตรมาส 2/67 ทั้งนี้ บล.กรุงศรีปรับกำไรสุทธิ ปี 2568-2569 ขึ้นปีละ +1% จากทิศทางดอกเบี้ยขาลงส่งผลให้ราคาเหมาะสมปี 2568 ปรับเพิ่มเป็น 55 บาท บล.กรุงศรีชอบ KTC เพราะ i) คาดมาตรการของ ธปท. และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางภาครัฐ จะช่วยลดปัญหาการตกชั้นของลูกหนี้ ii) ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง iii) มีจุดแข็งเรื่องงบดุล iv) คาดกำไรสุทธิปี 2568 ที่ +8%y-y โตต่อจากปี 2567 ที่ +3% y-y
.
บล.หยวนต้า : KTC คุณภาพสินทรัพย์มีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ราคาหุ้นมี upside จำกัด
บล.หยวนต้าปรับประมาณการลง หลังสำรองลดลงช้าและการเติบโตของสินเชื่อยังไม่เด่น กำไรสุทธิ 9 เดือน 2567 คิดเป็น 68.9% ของประมาณการเดิมทั้งปี ซึ่งต่ำกว่าที่บล.หยวนต้าคาดเนื่องจากบริษัทลดระดับการตั้งสำรองได้ช้ากว่าคาด รวมถึงการเติบโตของสินเชื่อรวมที่ค่อนข้างจำกัด ทั้งจากผลของมาตรการเพิ่มอัตราผ่อนชำระขันตำ และการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้บล.หยวนต้าปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2567/68 ของ KTC ลง 6.2%/6.6%.6% ตามลำดับ โดยภายใต้ประมาณการใหม่ เบื้องต้นคาดแนวโน้มกำไรสุทธิไตรมาส 4/67 จะยังขยายตัว YoY และ QoQ เล็กน้อยหนุนจาก 1) แนวโน้มความต้องการใช้สินเชื่อเพื่อการบริโภคในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงที่พันธมิตรร้านค้าต่างๆ จะออกโปรโมชั่นส่งเสริมการขายจำนวนมาก 2) คาดแนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อจำนำทะเบียนจะเร่งตัวขึ้น ในช่วงที่สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ และ 3) คาดการตั้งสำรองจะผ่อนคลายลง หนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ที่ช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้คาดทั้งปี 2567 KTC จะมีกำไรสุทธิ 7,554 ลบ. โต 3.5% YoY และโต 8.2%YoY ในปี 2568
มองราคาหุ้นมี Upside จำกัด คงคำแนะนำเพียง "TRADING"
แม้บล.หยวนต้ามองว่าทิศทางของผลดำเนินงานของ KTC จะทยอยปรับตัวขึ้น จากทั้งเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ และต้นทุนทางการเงินที่ปรับลงจากผลของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ผ่านมา แต่ด้วยราคาหุ้นปัจจุบันปรับขึ้นตอบรับปัจจัยบวกไปมาก จนมี Upside จำกัด แม้ปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐานปี 2568 ที่ 53 บาท จึงคงคำแนะนำเพียง "TRADING"
.
บล.เคจีไอ : KTC ยังคงไม่สามารถเติบโตในธุรกิจใหม่ได้
KTC รายงานกำไรในไตรมาส 3/67 เป็นไปตามประมาณการของบล.เคจีไอ และconsensus โดยที่กำไรงวด 9 เดือน 2567 ที่ 5.5 พันล้านบาท (ไม่มีการเติบโต) คิดเป็น 76%ของประมาณการทั้งปีของบล.เคจีไอ ขณะที่ เรามองว่า KTC มีข้อได้เปรียบเชิงแข่งขันเมื่อเทียบกับ Non-bank อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพในการเติบโตของบริษัทค่อนข้างต่ำจากการเติบโตแบบอนุรักษ์นิยมและมีความระมัดระวังในการเริ่มธุรกิจใหม่ ทั้งนี้ บล.เคจีไอขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2568F โดยใช้ PE ที่ 16.5x หรือเท่ากับ implied PEG >1x เพื่อสะท้อนสถานภาพที่แข็งแกร่ง ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ปี 2568F ที่ 54.00 บาท (เพิ่มจาคราคาเป้าหมายปี 2567 เดิมที่ 47.25 บาท) จากการที่ราคาปิดทุน KTC ล่าสุดมี upside จำกัด บล.เคจีไอจึงปรับลดคำแนะนำลงเป็นถือ (จากซื้อ)
ปรับกำไรปี 2568F ลง 4%,ขยับใช้ราคาเป้าหมายปี 2568F ที่ 54 บาทกับลดคำแนะนำเป็นถือ (จากซื้อ)
บล.เคจีไอมองว่าแนวโน้มธุรกิจของ KTC มีความแข็งแกร่งและมีข้อเปรียบเชิงแข่งขันเมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารอื่น ๆ ที่ถูกกระทบจากคุณภาพสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพการเติบโตของบริษัทค่อนข้างต่ำเนื่องจากการเติบโตเป็นแบบอนุรักษ์ผมและมีความระมัดระวังในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ทั้งนี้ บล.เคจีไอขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2568F โดยใช้ PE ที่ 16.5x หรือเท่ากับ PEG >1x เพื่อสะท้อนสถานภาพที่แข็งแกร่ง ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ในปี 2566F ที่ 54 บาท (เพิ่มจากราคาเป้าหมายปี 2567 ที่ 47.25 บาท) การที่ราคาปิดหุ้น KTC ล่าสุดมีอัพไซด์จำกัด เราจึงปรับลดคำแนะนำลงเป็นถือ (จากซื้อ)
Risks
อัตราการเติบโตรายได้ลดลงและ NPL กับค่าใช้จ่ายในการกันสำรอง ฯ เพิ่มขึ้น
.
บล.พาย : ปี 2569 กำไรโตดีขึ้น แต่ Valuation สูง
บล.พายคงคำแนะนำ "ถือ" ด้วยมูลค่าพื้นฐาน 45 บาท เนื่องจาก (1) คาดกำไรมีอัตราการเติบโตปานกลาง 4.1% YoY CAGR (2567-2569) (2) ROE เป็นทิศทางลดลงที่ 19.6%/18.6%/17.7% ในปี 2567-2569 (3) Valuation ค่อนข้างสูง ซื้อขายที่ 3.1x PBV'67E และ 16.9x PE'67E และ (4) อัตราผลตอบแทนการลงทุนจำกัด และคาดมี Dividend yield ที่ราว 2.7-3% ในปี 2567-2569 อย่างไรก็ดี KTC ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาลงที่ช่วยหนุนให้ NIM ทรงตัวระดับสูง ชดเชยการขยายตัวของสินเชื่อที่ชะลอตัว และยังไม่สามารถผลักดันให้ธุรกิจ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินเป็น S Curve ใหม่ได้ ด้านผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/67 กำไรสุทธิออกมาที่ 1.9 พันล้านบาท (+3.4% YoY, +5.1% QoQ) ขณะที่ NPL ratio ทรงตัวที่ 1.9% และ coverage ratio สูงขึ้นเป็น 373.3%
.
บล.บัวหลวง : กำไรตรงกับที่บล.บัวหลวงคาด
แนวโน้ม
บล.บัวหลวงคาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/67 ที่ 1.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% YoY (รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นและรายได้จากหนี้สูญรับคืนฟื้นตัว) แต่ลดลง 3% QoQ (NIM ที่ลดลงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น)
สิ่งที่เปลี่ยนแปลง
บล.บัวหลวงคาดกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 7.4 พันล้านบาก เพิ่มขึ้น 1% YoY เนื่องจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะกลบผลกระทบของการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น เมื่อมองไปยังปี 2568 บล.บัวหลวงคาดกำไรสุทธิที่ 7.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%YoY หนุนจากสินเชื่อขยายตัวและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการที่สูงขึ้น
คำแนะนำ
PER ปี 2567 ของ KTC อยู่ที่ 16.1 เท่า แต่บล.บัวหลวงคาดการเติบโตเฉลี่ยสะสมของกำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2568-69 ที่ 6% ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน PEG ที่ 2.9 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มบริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถที่เราให้คำแนะนำอย่างมากที่ 0.8 เท่า บล.บัวหลวงจึงยังคงคำแนะนำขาย
.
บล.อินโนเวสท์เอกซ์ : ผลประกอบการออกมาตามคาด
แนวโน้มกำไรไตรมาส 4/67 และปี 2568 กำไร 9 เดือนปี 2567 คิดเป็น 74%ของประมาณการกำไรเต็มปีของเรา (+2%) บล.อินโนเวสท์เอกซ์คาดว่ากำไรไตรมาส 4/67 จะอยู่ในระดับทรงตัวทั้ง QoQ (รายได้ที่ดีขึ้นจะถูกหักล้างโดย opex ที่สูงขึ้น) แต่จะเพิ่มขึ้น YoY (non-NII สูงขึ้น) บล.อินโนเวสท์เอกซ์คาดว่ากำไรปี 2568 จะเติบโต 3% ซึ่งเป็นผลมาจากสินเชื่อที่เติบโต 3% NIM ที่ลดลง (จากการให้เครดิตเงินคืนเทียบเท่าดอกเบี้ย 0.5% ของยอดค้างชำระสินเชื่อบัตรเครดิตในครึ่งปีแรก 2568 และ 0.25% ในครึ่งปีหลัง 2568 ) credit cost ที่ลดลงเล็กน้อย และ non-NII ที่ดีขึ้น
คงคำแนะนำ Underperform และคงราคาเป้าหมายไว้ที่ 39 บาท (อิงกับ PBV ปี 2568 ที่ 2.2 เท่า) เนื่องจาก valuation แพง และกำไรมีแนวโน้มเติบโตต่ำ
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ: 1) ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง 2) การปรับเพิ่มอัตราชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตจาก 8% เป็น 10% 3) มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของ ธปท. และ 4) ความเสี่ยงด้าน ESG จากการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct)
ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1
Instagram คลิก https://instagram.com/thunhoon.new
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม