> รู้ทันการลงทุน > ตลาดหุ้นไทย

28 เมษายน 2025 เวลา 05:10 น.

รู้ทันการลงทุน : Globalization 3.0: โลกาภิวัตน์ยุคใหม่ที่ยืดหยุ่นและซับซ้อน

#ทันหุ้น-บทความฉบับที่ผ่านมา ผู้อ่านอาจได้รับทราบถึงความเป็นมาของจุดกำเนิดGlobalization 1.0 และการนำไปสู่ Globalization 2.0 สำหรับบทความวันนี้จะขยายความให้ฟังต่อว่า การเปลี่ยนผ่านจาก Globalization 1.0 ไปสู่ยุค 3.0 ได้สะท้อนถึงจุดสิ้นสุดของยุคโลกาภิวัตน์หรือไม่ รายงาน Wealth Insight ของทีม Wealth Research ระบุไว้ว่า โลกยังเป็น Globalization อยู่ แต่ในโครงสร้างใหม่ที่ซับซ้อนกว่าเดิม แม้จะมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยมองว่าโลกกำลังเคลื่อนเข้าสู่ “ยุคแห่งการหวนกลับ” หรือ Deglobalization แต่ในมุมมองของเรา คำอธิบายดังกล่าวอาจรุนแรงเกินไปเมื่อเทียบกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพราะโลกในวันนี้ยังคงเชื่อมโยงและพึ่งพากัน การค้าโลกไม่ได้หดตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ


และการลงทุนข้ามพรมแดนยังคงดำเนินอยู่ หากแต่ “รูปแบบของความเชื่อมโยง” มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ “มิติของโลกาภิวัตน์” ในรูปแบบที่เราคุ้นเคยภายใต้ Globalization 1.0 ได้เริ่มอ่อนตัวลง


โครงสร้างของ FDI ที่เปลี่ยนไป: จาก Efficiency สู่ Resilience และ Strategic Control
ในยุคของ Globalization 1.0-2.0 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม


ต่างได้รับประโยชน์อย่างมากจากแนวโน้มที่บริษัทข้ามชาติแสวงหาแหล่งผลิตต้นทุนต่ำ ด้วยโมเดลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งให้ความสำคัญกับ “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) เป็นแกนหลัก นักลงทุนต่างชาติจึงเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศเหล่านี้ ดังนั้น แทนที่จะใช้คำว่า “Deglobalization” ซึ่งสื่อถึงการหดตัวของระบบโลกาภิวัตน์ มาใช้คำว่า “Globalization 3.0” จึงดูจะเหมาะสมกว่า เพราะสะท้อนให้เห็นถึงยุคใหม่ที่โลกไม่ได้หันหลังให้กับความเชื่อมโยงระหว่างกัน แต่กำลังพัฒนาเครือข่ายรูปแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับ “ความยั่งยืน ความมั่นคง และความหลากหลายทางภูมิภาค” มากยิ่งขึ้น การปรับโครงสร้างการผลิตให้ตอบโจทย์ภูมิรัฐศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกาภิวัตน์ไม่ได้กำลังจะตายจากไป แต่ได้ “วิวัฒน์” ไปสู่เวอร์ชันใหม่ที่ซับซ้อนและมีมิติทางยุทธศาสตร์ที่เข้มข้นกว่าเดิมเพื่อผลิตสินค้าและส่งออกกลับไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐและยุโรป โดยไม่มีความจำเป็นต้องสร้างระบบนิเวศทางเทคโนโลยี หรือพัฒนา Value Chain ภายในประเทศเจ้าบ้าน


ในช่วงปลายของยุค Globalization 2.0 การพึ่งพาจีนในฐานะ “โรงงานของโลก” เริ่มถูกตั้งคำถาม เนื่องจากต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนเชิงนโยบายจากประเทศตะวันตกส่งผลให้บริษัทข้ามชาติจำนวนมากเริ่มย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนไปยังประเทศอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยง เช่น อินเดีย เวียดนาม และเม็กซิโก


อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกเข้าสู่ยุค Globalization 3.0 โมเดล FDI ก็กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนผ่าน จากที่เคยให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น (Resilience) เป็นหลัก สู่การผสานแนวคิด “การควบคุมเชิงยุทธศาสตร์” (Strategic Control) เข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญ กล่าวคือบริษัทข้ามชาติไม่เพียงต้องการลดความเสี่ยงจากการผลิตที่กระจุกตัวในประเทศเดียว แต่ยังต้องการ “ควบคุม” ปัจจัยเสี่ยงในระดับยุทธศาสตร์ เช่น ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางเทคโนโลยี ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางการทหาร รวมถึงความสามารถในการรับมือและตอบสนองต่อวิกฤติต่าง ๆ ภายในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


เส้นทางของ FDI และแนวโน้ม: Global Supply Chain, China+1, Multi-hubs Production Model
การเปลี่ยนผ่านจาก Globalization 1.0 สู่ 3.0 สามารถสรุปภาพรวมได้ผ่านพัฒนาการของโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานโลก


ซึ่งได้เปลี่ยนจากรูปแบบ “ศูนย์กลางเดียวกระจายทั่วโลก” ไปสู่ “ศูนย์กระจายที่เชื่อมโยงกันภายในกลุ่มพันธมิตร”


โดยในยุค Globalization 1.0 โครงสร้างของ Global Supply Chain ให้ความสำคัญกับการหาแหล่งผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเป็นหลัก ส่งผลให้เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไหลเข้าสู่ “จุดศูนย์กลางการผลิตที่ต้นทุนถูก” อย่างชัดเจน ยกตัวอย่าง จีนมีกระแสการไหลเข้าของ FDI สุทธิ (Net FDI Inflow) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1980 และมีมูลค่าสูงถึง 3-4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 1993-1998 ซึ่งคิดเป็นราว 5-6% ของ GDP จีนในปีนั้น ๆ


เมื่อก้าวเข้าสู่ยุค 2.0 แนวโน้มเริ่มเปลี่ยนไปสู่การลดการพึ่งพาจีนผ่านแนวคิด “China+1 Strategy” โดยบริษัทข้ามชาติมองหาทางเลือกในการลงทุนเพิ่มเติมในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ แม้จะยังคงใช้รูปแบบ Global Supply Chain อยู่ก็ตามขณะที่ในยุค Globalization 3.0 โลกกำลังเคลื่อนสู่โครงสร้าง “การกระจายศูนย์” ผ่านโมเดล Multi-hub Production ซึ่งเน้นการตั้งศูนย์การผลิตและนวัตกรรมในแต่ละภูมิภาค เช่น India Hub สำหรับเอเชียใต้, ASEAN Hub สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, European Hub สำหรับยุโรป และ US Hub ที่รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์กำลังเร่งผลักดัน โดยแต่ละ Hub จะมีเครือข่ายพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partners) ที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถด้านการผลิต นวัตกรรม และเสริมสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่อุปทานในระยะยาว

              สัดส่วนกระแส FDI ไหลเข้าสุทธิต่อ GDP ของจีนช่วงปี 1980-2020




AI & Robotics: การลงทุน Capex ในยุคที่แรงงานราคาถูกอาจไม่ใช่คำตอบ ประเด็นที่สำคัญของการทำให้ Multi-hub Production Model ประสบความสำเร็จ คือ การที่บริษัทข้ามชาติเริ่มไม่ยึดติดกับการย้ายฐานผลิตเพื่อลดต้นทุนแรงงานเหมือนในอดีต แต่กลับเห็นความสำคัญในการลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI และหุ่นยนต์ (Robotics) 


เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานในภูมิภาคที่มีปัญหาขาดแคลนแรงงานราคาถูก และตอบโจทย์การผลิตในระดับสูง บริษัทอย่าง Tesla, Apple, และ Foxconn ต่างเริ่มลงทุนใน Smart Factory ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงต่อวิกฤติในอนาคต


แนวโน้มนี้กำลังสร้าง “คลื่นลูกใหม่” ของ FDI ที่ไม่ได้วัดด้วยแค่เม็ดเงินหรือจำนวนแรงงานที่จ้าง แต่ด้วยคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ความพร้อมด้านพลังงาน และทักษะแรงงานในยุค AI ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันระหว่างประเทศเจ้าบ้านของ FDI ในอนาคต


สรุป การเปลี่ยนผ่านจาก Globalization 1.0 ไปสู่ยุค 3.0 ไม่ได้สะท้อนถึงจุดสิ้นสุดของยุคโลกาภิวัตน์ แต่เป็นการปรับโครงสร้างไปสู่รูปแบบใหม่ที่มีความซับซ้อน ลึกซึ้ง และยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ทั้งในมิติของเทคโนโลยี ภูมิรัฐศาสตร์ 


และสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนส่งผลโดยตรงต่อแนวโน้มการลงทุนของบริษัทข้ามชาติและทิศทางของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในโลกยุคใหม่ ประเทศที่สามารถปรับตัวได้อย่างทันท่วงทีกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะการเร่งพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดรับกับความต้องการของเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและการออกแบบนโยบายส่งเสริม FDI ที่สามารถตอบโจทย์เชิงยุทธศาสตร์ของนักลงทุนระดับโลกได้อย่างแท้จริง 


จึงจะเป็นประเทศที่ครองความได้เปรียบบนเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระยะถัดไป

รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้

FACEBOOK : ทันหุ้นออนไลน์ คลิก https://www.facebook.com/thunhoonnews

YOUTUBE : Thunhoon คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial

Tiktok : Thunhoon คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/

TELEGRAM : Thunhoon คลิก https://t.me/thunhoon_news

X : Thunhoon คลิก https://twitter.com/thunhoon1

Instagram : Thunhoon คลิก https://instagram.com/thunhoon.news?/

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวล่าสุด

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X