03 เมษายน 2025 เวลา 12:56 น.
#ทันหุ้น - บล.บัวหลวง ระบุจากการที่ทรัมป์ประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้ หรือ Reciprocal tariff กับไทยสูงถึง 36% ในทุกๆ รายการ ในเบื้องต้น ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการส่งออกไทย เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยที่มีสัดส่วนการส่งออกกว่า 18.3% ของมูลค่าการส่งออกไทยทั้งหมด หากประเมินผลกระทบในเชิงตัวเลข ฝ่ายวิจัยอาจจะเห็นตัวเลขการส่งออกที่หดตัวต่ำกว่า 1% และอาจเห็น GDP growth ของไทยในปี 2568 ลงไปแตะ 1% หรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่สงครามการค้ายืดเยื้อ
อย่างไรก็ดี การที่ทรัมป์เรียกเก็บภาษีกับ 50 ประเทศคู่ค้าในอัตราที่สูงแบบนี้ ก็สะท้อนถึงความต้องการในการบีบการเจรจาทางการค้ากับคู่ค้าต่างๆ ให้จบเร็วขึ้น และสำหรับไทยเอง ภาครัฐก็คงต้องเร่งเจรจาทางการค้าเร็วขึ้น และฝ่ายวิจัยอาจจะเห็นภาพการเปิดเสรีทางการค้าในบางกลุ่มสินค้าเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าไทยอาจจะจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหลายรายการที่ไทยเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ สูง และอาจจะมี Non-tariff barriers ทางการค้าในอดีต เช่น เนื้อหมู นอกเหนือจากถั่วเหลือง ข้าวโพด ที่ฝ่ายวิจัยเคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ และอาจจะต้องเจรจานำเข้าสินค้าพลังงานหรือสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เครื่องบิน อาวุธ ยาและเวชภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้น
Strategist: คาดกดดัน sentiment ตลาดหุ้นไทยรุนแรงจากความกังวลผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางตรง และทางอ้อม ในแง่ผลกระทบทางตรง สัดส่วนรายได้จากการส่งออกไปสหรัฐฯ ของ SET อยู่ที่ราว 1.4% โดยบริษัทฯ ที่มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไปสหรัฐฯ สูง เช่น ITC (ราว 50%), TU (ราว 39%), DELTA (ราว 25%), HANA (ราว 25%), KCE (ราว 23%), CPF (ราว 10%), SAT (ราว 5%)
Base Case ของฝ่ายวิจัยที่ให้น้ำหนักความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจจนเข้าสู่ Mild Recession เป็นความเสี่ยงต่อกลุ่ม Cyclical/Global Play โดยสำหรับไทย Downside ต่อ EPS ของ SET ราว 6-7%
ทั้งนี้ หากอิงจากข้อมูลในอดีต การปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ลง 1% อาจส่งผลให้ การประมาณการกำไรของ SET ลดลงถึง 4.4% ทำให้ฝ่ายวิจัยมอง EPS ของ SET อาจมี downside อยู่ที่ราว 88
หากอิงจาก PER ต่ำสุดช่วง Trade War รอบแรก และ COVID จะได้ PER ที่ 12.3x (-1.75SD จากค่าเฉลี่ย 10 ปี) ทำให้ประเมิน downside ของ SET ราว 1080
ในแง่กลยุทธ์ระยะสั้น ยังเน้นเพิ่มน้ำหนักกลุ่ม Defensive เช่น โรงพยาบาล สื่อสาร และ Domestic เช่น ค้าปลีกของใช้จำเป็น (Consumer staples) ที่มีรายได้พึ่งพาในประเทศสูง
ในขณะที่ ลดน้ำหนักกลุ่ม Exporter ไปสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง, ลดน้ำหนักหุ้น Cyclical/Global Play ที่อ่อนไหวต่อการชะลอตัวของการค้าโลก
ทั้งนี้ มองถือเงินสดบางส่วนเพื่อรอเข้าซื้อในช่วง Turning Point สำคัญ คือ “สัญญาณการเปิดทางเจรจา” และสัญญาณจุด Bottom ของตลาดหุ้นทั่วโลกหลังสงครามการค้าคลี่คลาย จึงเป็นสัญญาณสำคัญในการเพิ่ม Beta พอร์ต ทยอยเข้าสะสมหุ้นที่ราคาย่อตัวแรงก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะกลุ่มวัฏจักร/Global Play เช่น กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์จากคาดเศรษฐกิจโลกผ่านจุดต่ำสุด และเข้าสู่การเติบโตรอบใหม่
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้
Facebook คลิก https://www.facebook.com/thunhoonnews
Youtube คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/
Telegram คลิก https://t.me/thunhoon_news
X คลิก https://twitter.com/thunhoon1
Instagram คลิก https://instagram.com/thunhoon.news?/
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม