#ทันหุ้น - บล.หยวนต้า ได้สอบถามข้อมูลจากบริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAGURO มีมุมมองเป็นบวก แนวโน้มกำไรปกติ Q3/67 คาดกลับมาเติบโตทั้ง QoQ และ YoY แม้ SSSG ยังอยู่ในช่วงลบในเดือน ก.ค. แต่เห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในเดือน ส.ค. ทำให้ฝ่ายวิจัยประเมิน SSSG ใน Q3/67 จะติดลบในระดับที่น้อยลง
นอกจากนี้ในช่วง 1H67 บริษัทมีการเปิดจำนวนสาขาใหม่ราว 4 สาขา ซึ่งทั้งหมดล้วนประสบความสำเร็จและมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรแล้ว ซึ่งจะมาหนุนการรับรู้รายได้ได้เต็มไตรมาสใน Q3/67 ทำให้ฝ่ายวิจัยคาดเติบโตระดับไม่ต่ำกว่า 30% QoQ ทำระดับสูงสุดใหม่
ด้านราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ดีขึ้น และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ IPO ที่ลดลงจะช่วยหนุน GPM และ NPM อย่างมีนัยสำคัญ ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรปกติใน Q3/67 เบื้องต้นในกรอบ 30 – 40 ลบ. และคาดจะเติบโตต่อ QoQ และ YoY ใน Q4/67 เพราะเป็นช่วง High Seasonของธุรกิจ
กำไรปกติ 1H67 อยู่ที่ 33 ลบ. แต่ด้วยแนวโน้มผลประกอบการใน 2H67 ที่จะเติบโตเด่น HoH ทำให้ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรปกติของ MAGURO ปี 2567 เบื้องต้นในกรอบ +/- 90 ลบ. หรือคิดเป็น EPS67 ที่ 0.71 บาท เป็นระดับสูงสุดใหม่ของบริษัท
*กำไรปกติปี 68 คาดโต YoY ทำระดับสูงสุดใหม่
จากแผนการเปิดสาขาใหม่ไม่ต่ำกว่า 10 สาขา/ปี , การเปิดแบรนด์ใหม่อีกราว 1-2 แบรนด์ และคาด SSSG กลับมาเป็นบวกอีกครั้ง จากแนวโน้มการบริโภคในประเทศที่คาดจะฟื้นตัว ได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐฯ ประกอบกับส่วนผสมรายได้ของแบรนด์ Hitori shabu และแบรนด์ใหม่ที่จะสูงขึ้น (มี GPM สูงกว่า) ขณะที่หนุน Portfolio mix และ GPM
นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินขนาดบริษัทที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ MAGURO มีอำนาจการต่อรองกับ Supplier มากขึ้น ลดต้นทุนต่อหน่วย ขณะที่ครัวกลางของบริษัทคาดยังสามารถรองรับการเติบโตได้อีกอย่างน้อย 3 ปี ทำให้จะยังไม่ต้องใช้เงินลงทุนขนาดใหญ่ในระยะนี้ โดยประเมินแนวโน้มกำไรปกติปี 2568 เบื้องต้นกรณีแย่ที่สุดที่ 100 ลบ. (+11% YoY) กรณีดีที่สุดที่ 140 ลบ. (+56% YoY) และในปกติที่เป็นไปได้ที่ 120 ลบ. (+33% YoY)
ฐานะการเงินของบริษัทแข็งแกร่งหลังการ IPO มีสถานะเป็น Net Cash Company และมีสัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่ำมาก (0.01เท่า) และด้วยลักษณะของธุรกิจที่รับเป็นเงินสดทำกระแสเงินสดแข็งแกร่ง และมีศักยภาพในการเติบโตรูปแบบ Inorganic (อาทิ การทำ M&A) ได้อีกเป็น Upside
ฝ่ายวิจัยใช้วิธี PER ในการประเมินมูลค่าเบื้องต้นของ MAGURO โดยให้ PER ที่ 25 เท่าในกรณีปกติ (Base Case) ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มร้านอาหารในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมองว่า MAGURO ควรซื้อขายด้วย Valuation ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มเนื่องจากอยู่ในช่วงการเติบโตของธุรกิจ และโอกาสการขยายสาขาทำได้อีกมาก จึงให้ PER ที่ 30 เท่า ในกรณีที่ดีสุด (Best Case) และใช้ PER ที่ 20 เท่าในกรณีแย่สุด (Worst Case) ได้ราคาเหมาะสมปี 2568 เบื้องต้นในกรอบ 15.90 – 33.30 บาท โดยกรณีปกติที่เป็นไปได้อยู่ที่ 23.80 บาท
ทางเทคนิค แนวรับ 17.00/16.40 บาท แนวต้าน 18.20/19.00 บาท จุด Stop loss ที่ 16.00 บาท
ส่วนผลการดำเนินงานที่อ่อนแอใน Q2/67 มาจากปัจจัยหลัก 3 ประเด็น 1) SSSG ที่อ่อนตัว แบ่งเป็น ร้าน Maguro -3%, SSamthing Together -10% และ Hitori Shabu -1% จากการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว 2)อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่อ่อนแอจากผลกระทบของราคาต้นทุนวัตถุดิบ อาทิ แซลม่อนที่ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก และค่าใช้จ่ายบางส่วนจากการขยายเพิ่มสาขาใหม่ และ 3) บริษัทรับรู้ค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการทำ IPO และที่ปรึกษาทางการเงินราว 7 ลบ.อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยประเมินว่ากำไรสุทธิใน Q2/67 ที่ 13 ลบ. (-36% QoQ, -36% YoY) จะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้แล้ว
กลยุทธ์หลักของบริษัทคือการเติบโตทั้งจากการขยายทั้งจากแบรนด์เดิม และการเติบโตจากการปั้นแบรนด์ใหม่ โดยบริษัทตั้งเป้าการเพิ่มสาขาในปี 2567 ที่ 13 สาขา และปี 2568 ที่ไม่ต่ำกว่าอีก 10 สาขา จากปัจจุบันที่ 25 สาขา ซึ่งร้านของบริษัทยังอยู่ในเขตกทม. ทั้งหมด และจำนวนสาขายังถือว่าน้อยมากเทียบกับแบรนด์ร้านอาหารขึ้นห้างอื่นๆ (มากกว่า 100 สาขา) ดังนั้น ฝ่ายวิจัยประเมินว่าการขยายสาขาของ MAGURO ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ช่วยหนุน Economies of scale และทำให้ MAGURO จะเติบโตได้เด่นกว่าคู่แข่ง
มีแผนเปิดตัวแบรนด์ร้านอาหารแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ใน 2H67 ซึ่งมากกว่าเดิมที่บริษัทเคยให้ข้อมูลกับตลาดช่วง IPO ที่ 1 แบรนด์ โดยล่าสุดบริษัทได้รับสิทธิในการเปิดร้าน Tonkatsu Aoki แต่เพียงผู้เดียวในไทย (ร้านหมูทอดญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นร้านยอดนิยมสูงในญี่ปุ่น ราคาขายเฉลี่ยที่ราว 400-500 ลบ. ด้วย GPM เฉลี่ยราว 40-50% ใกล้เคียงกับร้าน Hitori Shabu ที่เป็นระดับพรีเมียม คาดจะเปิดสาขาแรกใน Q4/67 ส่วนอีก 1 แบรนด์จะเป็นร้านภายใต้แบรนด์ของบริษัทเอง คาดจะเห็นความชัดเจนใน Q4/67 และบริษัทตั้งเป้าเปิดแบรนด์ใหม่ทุกปีอย่างน้อย 1 แบรนด์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
ฝ่ายวิจัยมองการปั้นแบรนด์ใหม่เป็นหนึ่งจุดแข็งของ MAGURO ซึ่งแม้ในกรณีแย่สุดหากไม่ประสบความสำเร็จบริษัทจะไม่ต้องรับรู้ผลขาดทุนมาก เพราะมีเงินลงทุนต่อสาขาที่ราว 12-15 ลบ. ขณะที่ค่าใช้จ่าย R&D มีรับรู้ไปแล้วตามการดำเนินงานปกติและการประเมินผลงานใช้ระยะเวลาที่สั้นเพียงราว 6-12 เดือน และในเชิงปฎิบัติจะถูกแทนที่ด้วยแบรนด์เดิมที่มีอยู่ ทำให้ผลกระทบจากการลงทุนจะไม่สูง แต่หากสำเร็จจะเป็น S-Curve ใหม่หนุนการเติบโตของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
แนวโน้มราคาต้นทุนที่สูงขึ้นใน Q2/67 จากราคาปลาแซลมอนที่ราว 500 บาท/กก. มีแนวโน้มปรับลงชัดเจนใน Q3/67 เหลือเพียงราว 320 บาท/กก. (-36% QoQ) ประกอบกับค่าเงินบาทเทียบ USD ที่แข็งค่าจะช่วยทำให้บริษัทมีอำนาจต่อรองราคากับ Supplier มากขึ้น (วัตถุดิบเกือบทั้งหมดของบริษัทเป็นการนำเข้า) ทำให้ฝ่ายวิจัยประเมิน GPM ใน Q3/67 จะฟื้นตัวชัดเจน
ความเสี่ยงสำคัญ : การบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว หรือฟื้นตัวได้ช้ากว่าคาด / ความผันผวนของราคาต้นทุนวัตถุดิบ / การเปลี่ยนแปลงของความต้องการของผู้บริโภค / การขยายสาขาที่น้อยกว่าเป้าหมายของบริษัท / ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นสูงกว่าคาด
หมายเหตุ: MAGURO ไม่อยู่ใน Coverage ของเรา ข้อมูลในบทวิเคราะห์นีจ้ัดน าเพื่อเป็นมุมมองการลงทุน (Trading idea) เบือ้งต้นเท่านัน้ นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนมากกว่าปกติ และเหมาะส าหรับผู้รับความเสี่ยงได้
ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1
Instagram คลิก https://instagram.com/thunhoon.news?/
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม