> SET > BBL

19 มีนาคม 2024 เวลา 14:15 น.

การลดดอกเบี้ยที่เร็วขึ้นอาจกดดัน NIM

#หุ้นกลุ่มแบงก์ #ทันหุ้น - บล.บัวหลวงคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25bps ในเดือน มิ.ย.และอีก 25bps ในไตรมาส 4/67 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2567 ของกลุ่มธนาคารที่บล.บัวหลวงให้คำแนะนำ 2.7% การเติบโตของสินเชื่อและความเสี่ยงด้านเครดิตน่าจะดีขึ้นในปี 2568 สอดคล้องไปกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น


จะเกิดอะไรขึ้นหาก ธปท.ลดดอกเบี้ยในไตรมาส 2/67

สมมติฐานของบล.บัวหลวงปัจจุบันคือ ธปท.จะลดดอกเบี้ยลง 25bps ในเดือน มิ.ย. และอีก 25bps ในไตรมาส 4/67 เหลือ 2.00% ณ สิ้นปี 2567 สังเกตว่าในการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ธปท. มีมติ 5:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% (สมาชิก 2 คนลงคะแนนให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 25bps) ดังนั้น บล.บัวหลวงคาดว่า ธปท. จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยเร็วและมากกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้า


จากการวิเคราะห์ของบล.บัวหลวง หาก ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25bps ในเดือน มิ.ย. และอีก 25bps ในเดือนต.ค. ผลกระทบต่อการคาดการณ์กำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารในปี 2567 ที่เราให้คำแนะนำ (การปรับลดดอกเบี้ย 25bps เป็นเวลา 6 เดือน และอีก 25bps เป็นเวลา 2 เดือนในปี 2567) จะลดลงราว 2.7% (จากสินเชื่อและเงินฝากสุทธิ รวมถึงรายการธุรกรรมระหว่างธนาคารสุทธิ) ภาพกำไรสุทธิปี 2567 ของ KTB ถือเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยมากที่สุด (ลดลง 4.2% จากประมาณการปัจจุบัน) ตามด้วย KKP (ลดลง 3.6%) BBL (ลดลง 3.5%) KBANK (ลดลง 2.8%) TTB (ลดลง 2.4%) TISCO (ลดลง 1.2%) และ SCB (ลดลง 1.0%)


สินเชื่อและความเสี่ยงด้านเครดิตจะปรับตัวดีขึ้นหรือไม่?

บล.บัวหลวงเชื่อว่าหลังจาก ธปท. ปรับลดดอกเบี้ย เศรษฐกิจจะค่อยๆ พื้นตัวดีขึ้น สภาพคล่องของลูกค้าองค์กรและลูกค้ารายย่อยน่าจะดีขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการเติบโตของสินเชื่อโดยรวมของธนาคารและต้นทุนด้านเครดิตเฉลี่ยในปี 2568


จากการศึกษาของเรา ในช่วงปี 2551-66 แสดงให้เห็นว่าการเติบโตของสินเชื่อรวมและต้นทุนด้านเครดิตโดยเฉลี่ยไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นทันทีหลังการปรับลดดอกเบี้ยของธปท. การเติบโตของสินเชื่อโดยรวมและต้นทุนด้านเครดิตที่ลดลงเฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับการเติบโตของ GDP มากกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง


สมมติฐานการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารที่บล.บัวหลวงให้คำแนะนำรวมในปี 2567 และต้นทุนด้านเครดิตเฉลี่ยมีแนวโน้มที่จะไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจาก 1) ผลกระทบจากภาครัฐที่ใช้เวลานานในการผ่านงบประมาณปี 2567 และ 2) ธนาคารจะเข้มงวดกับการให้สินเชื่อที่ใหม่ในปีนี้


ราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนความกังวลไปแล้ว

ดัชนีกลุ่มธนาคารปรับตัวลง 10% ตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. 2566 (SET ปรับตัวลง 12% ในช่วงเวลาเดียวกัน) จากความกังวลเรื่อง NIM และคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง แม้ว่าประมาณการกำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารในปี 2567 อาจถูกกระทบจากการลดดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด แต่เชื่อว่าบริษัทต่างๆจะสามารถจัดการได้ และตลาดสะท้อนความกังวลส่วนใหญ่ไปในราคาหุ้นกลุ่มธนาคารที่บล.บัวหลวงให้คำแนะนำแล้ว และคาดว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยมากกว่า 5% ในปี 2567 โดย BBL และ KBANK เป็นบริษัทที่บล.บัวหลวงชอบมากที่สุดในกลุ่ม




รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X