> รู้ทันการลงทุน >

29 มีนาคม 2023 เวลา 07:00 น.

Bailout คืออะไรทำไมรัฐต้องเข้าไปอุ้มธุรกิจที่ล้มละลาย

#ทันหุ้น - Bailout คือ การช่วยเหลือทางการเงินโดยรัฐบาลหรือบริษัทที่ใหญ่กว่า เพื่ออุ้มบริษัทหรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีปัญหาทางการเงินไม่ให้ล้มละลายและป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง โดยอาจอยู่ในรูปแบบของพันธบัตร เงินสด เงินกู้ รวมถึงการที่รัฐบาลเข้าไปรับประกันเงินกู้ให้ หรืออัดฉีดเงินทุนเข้าไป


ทำไมรัฐต้องเข้าไปอุ้มธุรกิจที่ล้มละลาย


การที่รัฐเข้าไปอุ้มธุรกิจที่ล้มละลายนั้นมีทั้งความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินมหาศาลที่ต้องใช้ ซึ่งก่อนที่รัฐจะตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ ต้องสามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทนั้นมีศักยภาพมากพอที่จะสามารถชำระคืนหนี้ให้กับรัฐบาลได้ และเหตุผลที่รัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือเนื่องจากเพื่อป้องกันผลกระทบรุนแรงที่อาจตามมาในภายหลัง โดยสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่


1. ป้องกันไม่ให้เกิดการล่มสลายของระบบการเงิน

2. ช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งมักเป็นผลที่ตามมาจากการล้มละลายของระบบการเงินการธนาคาร

3. ป้องกันความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจจาก Domino Effect หากบริษัทที่ประสบปัญหานั้นล้มละลาย

4. ป้องกันการเกิดปัญหาการว่างงาน

5. ป้องกันการสูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระบบการเงินและตลาดหุ้น


ข้อดีของการทำ Bailout คือ 1. ช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งมักเป็นผลตามมามาจากการล้มละลายของระบบการเงินการธนาคาร 2. ป้องกันการเกิดปัญหาการว่างงาน อีกทั้งอาจยังส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดที่อาจจะรุนแรงขึ้น หลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 3. ช่วยลดการเกิด Domino Effect หรือเกิดผลกระทบทางลบต่อหลาย ๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามมา 4. หากบริษัทที่ล้มละลายอย่างกะทันหัน เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือธุรกิจที่มีผลต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมาก จะยิ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งต่อลูกค้า สถาบันการเงินอื่น คู่สัญญาในภาคส่วนต่าง ๆ


ข้อเสียของการทำ Bailout คือ 1. เนื่องจากเงินที่รัฐนำมาช่วยเหลือนั้นเป็นเงินที่มาจากภาษีของประชาชน ดังนั้นการที่รัฐนำเงินไปช่วยอุ้มบริษัท อาจส่งผลต่อการเก็บภาษีอัตราที่สูงขึ้น อีกทั้งผู้เสียภาษีอาจได้รับผลกระทบในรูปของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในอนาคต 2. อาจก่อให้เกิดอันตรายบนศีลธรรม หรือ Moral Hazard เนื่องจากการแทรกแซงของรัฐที่ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี 3. อาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ และสร้างโอกาสที่อาจจะเกิด Doom Loop ก่อให้เกิดปัญหาอื่นที่ตามมาเรื่อย ๆ จนทำให้สถานการณ์เดิมยิ่งแย่ลงไปอีกซ้ำไปซ้ำมา4. หากการเข้าช่วยเหลือของรัฐนั้นไม่ประสบความสำเร็จ อาจส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของประเทศสูงขึ้น กรณีที่ร้ายแรงที่สุด ประเทศอาจจะถึงขั้นล้มละลายได้


กรณีเหตุการณ์ที่มีการใช้กลยุทธ์ Bailout ในอดีต เช่นวิกฤติบริษัทประกัน AIG ในปี 2008 ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยและการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง AIG หรือ American International Group, Inc. ต้องพบกับวิกฤติเมื่อราคาบ้านที่เอามาจำนอง พากันราคาร่วงในช่วงต้นปี 2000 จนทำให้ AIG ต้องชดใช้ทั้งค่าสินไหมทดแทน และต้องเจอกับความเสียหายแบบมหาศาล จนปี 2008 รัฐบาลอเมริกาต้องช่วยอุ้มด้วยเงินจำนวน 180,000 ล้านดอลลาร์ เพราะกลัวว่าหาก AIG ล้มไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและตลาดหุ้นไปด้วย จนทำให้ AIG ได้รับแท็กฉายาว่า “ Too Big Too Fail ” ไปในที่สุด


รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X