> เป้าลงทุน หุ้นคาร์บอนต่ำ >

13 กันยายน 2021 เวลา 18:00 น.

หนี้ครัวเรือน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยหนี้ครัวเรือน ไตรมาส 1/2564 สูงแตะ 90.5% ต่อ GDP สูงสุดในรอบ 18 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.1ในไตรมาสก่อน และจะสูงต่อเนื่องหากโควิด-19 ลากยาวสู่ช่วงครึ่งหลังปี ปรับกรอบปีนี้ 90-92% จากเดิม 89-91% ต่อ GDP


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้คำนิยาม หนี้ครัวเรือน หมายถึง เงินให้กู้ยืมที่สถาบันการเงินให้แก่บุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ซึ่งบุคคลธรรมดาอาจนำเงินที่กู้ยืมไปใช้เพื่อการจับจ่ายใช้สอยหรือเพื่อประกอบธุรกิจ โดยข้อมูลหนี้ครัวเรือนจะครอบคลุมเฉพาะเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่ ธปท. ไม่รวมหนี้นอกระบบ


โดยทั่วไปแล้วหนี้ครัวเรือนหากอยู่ในระดับที่เหมาะสม จะเป็นการช่วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะครัวเรือนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประกอบธุรกิจต่างๆ ระดับหนี้ครัวเรือนที่เหมาะสมจึงต้องสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจการเงิน เช่น หนี้ครัวเรือนมากขึ้น รายได้ประชากรก็มากขึ้นด้วย แต่ถ้าเกิดว่าหนี้ครัวเรือนมากกว่ารายได้เป็นระยะเวลานานจะเปลี่ยนเป็น"หนี้เสีย" (NPL)ซึ่งส่งผลต่อสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมมาด้วย


ดังนั้นการที่บอกว่า หนี้ครัวเรือน 90.5% ต่อ GDP แปลว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญากู้ยืมนั่นเอง เพราะจากงานศึกษาของ World Bank บอกว่าระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงเกิน 77% ทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลงในระยะยาว

โดยมาจากหนี้ 3 กลุ่มหลัก ได้แก้ หนี้บ้าน หนี้การประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โควิดที่ลากยาวนี้จะเป็นประเด็นสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ถามว่าแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไร? นี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังซื้อของครัวเรือนเริ่มมีปัญหา การกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยจะยาก ฉะนั้นจะหวังให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนแบบรวดเร็วก็จะเป็นไปได้ยากเช่นกัน


การระบาดของโควิด-19 ระลอก 3พบว่า รายได้การจ้างงานครัวเรือนเกือบ 50% ได้รับผลกระทบจากการจ้างงาน โดย 90.3% มีรายได้ลดลง ขณะที่ 9.7% ขาดรายได้ ซึ่งตอกย้ำถึงความกังวลที่มีเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับรายได้จากการจ้างงาน อันจะส่งผลให้กำลังซื้อมีแนวโน้มลดลง


ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับที่สูงมากและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในทวีปเดียวกันหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ที่มีระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP คิดเป็น 69.5% และ 67.9% ตามลำดับและมีระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP น้อยกว่าสหราชอาณาจักรและเกาหลีใต้เพียงแค่  96.6% 106.6%


ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนโตสวนทิศทางเศรษฐกิจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศ แต่อย่างไรก็ตามกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังสวนทางกับเศรษฐกิจโลก ที่ไตรมาสแรกของปีเติบโตถึง 5.8% จากปัจจัยการกระจายวัคซีนที่รวดเร็วและทั่วถึงให้นักลงทุนคอยติดตามเรื่องนี้ต่อไป



อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก
https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X