> ประกัน >

18 มิถุนายน 2021 เวลา 13:29 น.

เบี้ยธุรกิจใหม่ MTLโตบวก ยูนิตลิงก์ควบสุขภาพหนุน

ทันหุ้น- เมืองไทยประกันชีวิต คืนฟอร์ม เบี้ยธุรกิจใหม่ NBP 4 เดือนแรกกลับมาโตบวก หนุนด้วยแผนยูนิตลิงก์ที่โตแรงทั้งช่องทางตัวแทน และแบงก์แอสชัวรันส์ ชู Mix Productเพิ่มสัญญาประกันสุขภาพดึงความสนใจลูกค้ายุคใหม่ที่กังวลทั้งค่ารักษาพยาบาลและ โรคที่อุบัติใหม่


นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTLกล่าวว่าภายใต้สถานการณ์โควิด-19 บริษัทยังคงมีผลการดำเนินงานที่เติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเบี้ยธุรกิจใหม่ (New Business Premium: NBP) 4 เดือนแรก สามารถเติบโตได้ถึง 37% (NBP มาจากเบี้ย FYP และ เบี้ยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) รวมกัน อยู่ที่ 8,053.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีเบี้ยอยู่ที่ 5,867.7 ล้านบาท)


ทั้งนี้ เบี้ย Single Premiumหรือเบี้ยที่จ่ายครั้งเดียว มาจากแผนประกัน 3 กลุ่มคือ กลุ่มสะสมทรัพย์ กลุ่มประกันสินเชื่อ (MRAT) และกลุ่มที่เป็นสินค้ายูนิตลิงก์ ประกันชีวิตควบการลงทุน ซึ่งในส่วนของ เมืองไทยประกันชีวิต นั้น เบี้ย Single Premium 4 เดือนแรก โต 42%โดยมาจากแบบยูนิตลิงก์เป็นหลัก


“ต้องยอมรับว่า 4-5 ปีที่ผ่านมาเราหักดิบในการปรับโครงสร้างของพอร์ตรับประกันภัย จากเดิมที่เน้นสินค้าสะสมทรัพย์ที่ขายได้ง่าย ทำเบี้ยก้อนโต ก็หันมาเน้นสินค้าคุ้มครองชีวิต และสุขภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดอกเบี้ยต่ำ ที่ผ่านมาเบี้ย FYP ของเราก็ลดลงตามแบบสินค้าคุ้มครองที่เบี้ยก้อนเล็กกว่าแบบสะสมทรัพย์ แต่กระนั่นสุดท้ายเราก็กลับมาได้ด้วยตัวเลข FYP และ NBP ที่เป็นบวก”


นายสาระ กล่าวต่อไปว่า นอกจากแบบประกันคุ้มครองหรือ protection (แผนประกันชีวิต แผนประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ)ที่เติบโตได้ดีแล้ว สินค้าประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Link Product: ILP) ก็สามารถเติบโตได้ดี โดย NBP ของ สินค้ากลุ่มนี้โตถึง 244% โดยเฉพาะในกลุ่มของยูนิตลิงก์ ที่ขายในช่องทางตัวแทนและขายในช่องทางแบบงก์แอสชัวรันส์


 นายสาระ กล่าวอีกว่า ยูนิตลิงก์ ที่ขายผ่านทางช่องทางแบงก์จะเป็นการจ่ายเบี้ยแบบครั้งเดียว ในขณะที่การขายผ่านช่องทางตัวแทน จะเป็นยูนิตลิงก์ที่แบ่งจ่ายเป็นงวด และยังสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ได้เช่น โรคร้ายแรง ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันผู้เอาประกันภัยให้ความสำคัญกับสัญญาเพิ่มเติมมากขึ้น จากความกังวลของค่ารักษาพยาบาล และการอุบัติของโรคใหม่ๆที่เป็นความเสี่ยงมากขึ้น


“ยูนิงต์ลิงก์ที่ขายผ่านแบงก์ได้ดี เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชูการลงทุนนำความคุ้มครอง ตางจากผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตกลุ่มอื่นที่เน้นในเรื่องของความคุ้มครองมาก่อน อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของเราก็สามารถสร้างการเติบโตในกลุ่มสินค้ายูนิตลิงก์ได้ด้วยเช่นกัน เพราะความที่เป็นสินค้าซับซ้อนสูงจึงต้องใช้การอธิบาย ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจ ขณะเดียวกันเพิ่มฟีเจอร์ด้วยสัญญาแนบท้าย ทำให้กลายเป็นสินค้า Mix Product ซึงลูกค้าให้ความสนใจมากขึ้นเช่นกัน”


ปัจจุบัน พอร์ตการปรับประกันของเมืองไทยประกันชีวิต กว่า 71%ของ NBP เป็นแบบประกันคุ้มครอง (protection) และเป็นแบบสินค้าประกันชีวิตควบการลงทุน (ILP) ซึ่ง นายสาระมองว่าเป็นสัดส่วนที่พอใจต่อการสร้างการเติบโตแบบยั่งยืน และสอดรับกับภาวะดอกเบี้ยที่คงอยู่ในระดับต่ำต่อไป


ซึ่งหากเทียบกับอดีตที่อัตราดอกเบี้ยเฟื่องฟู พอร์ตของบริษัทเป็นสินค้าสะสมทรัพย์มากถึง 60% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กดดันจากภาวะดอกเบี้ยต่ำ และมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS17

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X